บทความภาษาอังกฤษในตอนนี้ เป็นตอนต่อเนื่องนะครับ
จากหนังสือ "พระองค์ครู หลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ เล่ม 2" คุณชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง ได้บอกสรุปหลักการศึกษาและพิจารณาพระหลวงพ่อทวด เนื้อโลหะ ไว้พอสังเขปไว้ 2 ข้อคือ
1. พิมพ์พระ
ผู้ที่สะสมพระเครื่อง จะต้องพิจารณาพิมพ์ให้ออกว่าเป็นพระอะไร วัดไหน พิมพ์อะไร เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง หรือพิมพ์เล็ก และแยกย่อยแต่ละพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่ก็มีหลายพิมพ์ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็กก็มีหลายพิมพ์เช่นกัน
2. เนื้อหามวลสารต่างๆ ของโลหะจะต้องถูกต้อง
พระหลวงพ่อทวดเนื้อโลหะ บางรุ่นมีส่วนผสมของโลหะหลายชนิดไม่เหมือนกัน บางองค์เนื้อสีแดง บางองค์เนื้อสีเหลือง เป็นต้น
แล้วก็มาต่อกันด้วยมวลสารของพระหลวงพ่อทวด เนื้อนวโลหะ เราใช้ภาษาอังกฤษคำว่า Mixture of 9 metals - Gold, Silver, Copper, Tin, Zinc, Nuae Shin, Mercury, Bornite, Liquid metal.
. . . หากเป็นเนื้อทองคำ ก็ใช้คำว่า Made of Gold. แต่ถ้าศํพท์นักเล่นพระ เปียกทอง ก็ใช้อีกอย่างคือ The amulet surface glazed with gold.
. . . เนื้อเมฆพัด ใช้คำภาษาอังกฤษว่า Copper and Sulfur mixture.
. . . เนื้อแร่ แทนด้วยคำว่า Mixture of Mineral substances and alloy.
. . . เนื้อโลหะ ใช้ภาษาอังกฤษว่า Made of metal.
พระเครื่องที่เป็นพระลอยองค์ หรือพระกริ่ง จะมีการอุดกัน เราใช้ภาษาอังกฤษคำว่า Bottom seal
ต่อไปก็มาต่อกันที่พิมพ์พระของพระหลวงพ่อทวดที่พบเห็น ได้ยินกันบ่อย
พิมพ์ใหญ่ ใช้คำภาษาอังกฤษตรงตัวด้วยคำว่า Large size.
พิมพ์เล็ก แทนด้วยคำว่า Small size.
หลังเตารีด แทนด้วยคำว่า Iron shape หากต้องการอธิบายก็เขียนว่า The back side that looks similar to a smoothing iron.
หน้าอาปาเช่ แทนด้วยคำว่า Apache face อธิบายรายละเอียดได้ว่า This mold The Buddha's face that similar to the face of Native American Indian face paint.
ปั๊มซ้ำ ภาษาอังกฤษว่า Re-Stamped หากมีการอธิบายก็เขียนลงไปว่า By using stamping machine to re-stamped those under quality amulets for better appearance.
หลังหนังสือ อธิบายได้ว่า Bali and Thai letters stamped on the back side.
No comments:
Post a Comment